“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เโดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกรรม”นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัยระยะที่ 2 พัฒนาการ มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา "นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) “นวัตกรรมทางการศึกษา” หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
เกี่ยวกับฉัน
- นางสาวสุชาดา รำพรรณ์
- ราชบุรี, บ้านโป่ง
- ชื่อเล่น หวาน นักศึกษา บ.บัณฑิต รุ่น 11 ศูนย์จอมบึง อาชีพ ครูโรงเรียน ประชาสงเคราะห์ จ.กาญจนบุรี สอนระดับปฐมวัย โทรศัพท์ 032-268098 อีเมลล์ suchadarampan@gmail.com
วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญยิ่งและเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยมุ่งใช้ความก้าวหน้าของสังคมฐานความรู้ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยชี้นำในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของบุคลากรของประเทศเพื่อให้มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสาร แสวงหาความรู้ สร้างความร่วมมือ เจรจาต่อรอง และสร้างความสัมพันธ์อันดีได้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นกระบวนการหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การสื่อสารระดับบุคคลไปจนกระทั่งถึงการสื่อสารมวลชน ผู้ที่อยู่ในกระบวนการสื่อสารจึงจำเป็นต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร รวมถึงทราบปัจจัยที่มีผลต่อการสัมฤทธิ์ผลในการสื่อสารเพื่อนำมาปรับปรุงการสื่อสารของตน ซึ่งการจะพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพต้องเริ่มจาก “ภาษา” เนื่องจากภาษาถือเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร ผู้ใช้ภาษาควรตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ภาษา เริ่มตั้งแต่ “การคิด” ซึ่งเป็นทักษะที่มีบทบาทโดยตรงต่อการสื่อสารทั้งกระบวนการรับสารได้แก่ การอ่านและการฟัง และกระบวนการส่งสารได้แก่ การพูดและการเขียน เพราะฉะนั้นผู้รับสารควรมีความรู้เกี่ยวกับภาษาเพื่อการรับสารและการส่งสารตลอดจนพัฒนาทักษะดังกล่าวเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิผลมากที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)